A-Level 70 Soc สังคมศึกษา

โครงสร้างข้อสอบ

  • 1) ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

    1.1) ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

    1.2) การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 2) หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

    2.1) หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี
    มีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย
    การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

    2.2) การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 3) เศรษฐศาสตร์

    3.1) บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

    3.2) สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
    ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 4) ประวัติศาสตร์

    4.1) เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ

    4.2) พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา

    4.3) ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย

    จำนวน: 10 ข้อ
  • 5) ภูมิศาสตร์

    5.1) โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

    5.2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดาเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    จำนวน: 10 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

จำนวนข้อ

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
10 ข้อ
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
10 ข้อ
เศรษฐศาสตร์
10 ข้อ
ประวัติศาสตร์
10 ข้อ
ภูมิศาสตร์
10 ข้อ
รวม50 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (ข้อที่ 1 – 10)

    ตัวอย่าง 

    ข้อใดเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ดังต่อไปนี้

    “ถ้อยคำที่ให้อภัยอย่างอ่อนหวาน ย่อมดีกว่าการให้ทานแล้วทำร้ายทีหลัง” (ซูเราะห์ที่ 2: 263)

    “จงตั้งการบูชา จงจ่ายค่าช่วยเหลือคนจน จงก้มศรีษะให้แก่คนที่ก้มศรีษะให้แก่เจ้า จงยินดีความเป็นธรรมที่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ในเมื่อเจ้าลืมไป” (ซูเราะห์ที่ 2: 42, 44)

    “อย่าฆ่าคน” (บัญญัติ 10 ประการ)

    “อย่าแก้แค้น เพื่อผูกพยาบาทผู้หนึ่งผู้ใด แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง” (เลวีติโก 19: 18)

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

    ระดับการวัดระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    หลักธรรมสารณียธรรม 6 ประกอบด้วย

    (1) เมตตากายกรรม ที่มีกายกรรมด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (2) เมตตาวจีกรรม ที่มีวจีกรรมด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (3) เมตตามโนกรรม ที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    (4) สาธารณโภคิตา ได้สิ่งใดก็แบ่งปัน คือ สิ่งใดได้มาโดยชอบธรรมแม้เล็กน้อยก็ไม่หวงไว้แต่ผู้เดียว นำมาเฉลี่ยแบ่งปัน
    (5) สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน คือ มึความประพฤติสุจริต ถูกต้องตามระเบียบวินัยเสมอกัน
    (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกัน คือมีความเห็นชอบในข้อที่เป็นหลักการสำคัญอันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์

    หลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย

    (1) เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    (2) กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    (3) มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    (4) อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

    ดังนั้น จากข้อความที่กำหนดมาให้ตามหลักศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ที่สอดคล้องกันกับพระพุทธศาสนานั้น คือ สารณียธรรม 6 และพรหมวิหาร 4

  • สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม (ข้อที่ 11 – 20)

    ตัวอย่าง 

    บุคคลใดมีการกระทำที่ไม่ได้แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย  

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

    ระดับการวัดระดับความยาก

    การวิเคราะห์

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ตัวเลือก 2 สมฤดีนำเกษตรสวนกล้วยรวมตัวกันทำกล้วยอบแห้งเพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรพึ่งพาตนเอง เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

    ตัวเลือก 1, 3, 4 และ 5 เป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองและการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย

  • สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ (ข้อที่ 21 – 30)

    ตัวอย่าง 

    หากใน พ.ศ. 2566 รัฐบาลของประเทศ A ได้มีการเปิดเผยผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เท่ากับ 1,200 ล้านบาท และในปีเดียวกัน มีคนต่างสัญชาติจากประเทศ B เข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ในประเทศ A มูลค่ารวม 230 ล้านบาท และลงทุนด้านอุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยวและการบริการในประเทศ A มูลค่ารวม 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันคนสัญชาติประเทศ A ไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ก่อให้เกิดผลผลิตคิดเป็นมูลค่า 150 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เบื้องต้น ของประเทศ A จะมีมูลค่าเท่าใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : เศรษฐศาสตร์

    ระดับการวัดระดับความยาก

    การนำไปใช้

    ง่าย

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    GNP = GDP + รายได้ที่คนในประเทศทำที่ต่างประเทศ – รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ

    จากโจทย์

    GNP = 1,200 ล้านบาท

    รายได้ที่คนในประเทศทำที่ต่างประเทศ = 150 ล้านบาท

    รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ  = 380 ล้านบาท

    แทนค่าสูตร

    1200 ล้าน = GDP + 150 ล้าน – 380 ล้าน

    GDP = 1200 ล้าน – 150 ล้าน + 380 ล้าน

    GDP = 1430 ล้านบาท

  • สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ (ข้อที่ 31 – 40)

    ตัวอย่าง 

    “… เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้…” (ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 อ้างอิงจาก https://www.museumthailand.com/th/3594/storytelling/ลายสือไทย )

    บุคคลใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จากข้อความที่กำหนดไว้ข้างต้น

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ประวัติศาสตร์

    ระดับการวัดระดับความยาก

    ความเข้าใจ

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากข้อความศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 นั้น 1205 ศก ปีมะแม มีเฉพาะมหาศักราชเท่านั้น ดังนั้นจึงเทียบกับ มหาศักราช 1205 เป็น พุทธศักราชได้ 1205 + 621 = พ.ศ.1826 อยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ฉะนั้น พ.ศ.1826 จึงอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 (พ.ศ.1801 – 1900)

    หากเทียบกับคริสต์ศักราช จะเท่ากับ 1826 – 543 = ค.ศ.1283 อยู่ในทศวรรษที่ 1280 (ค.ศ.1280 – 1289) และอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (ค.ศ.1021 – 1300)

    หากเทียบกับจุลศักราช ตรงกับ 1826 – 1181 = จ.ศ.645 เบญจศก

  • สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ (ข้อที่ 41 – 50)

    ตัวอย่าง 

    ข้อใดเป็นการเลือกใช้ภาพจากดาวเทียมที่ไม่เหมาะสม

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ภูมิศาสตร์

    ระดับการวัดระดับความยาก

    การนำไปใช้

    ปานกลาง

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ภาพจากดาวเทียมสามารถนำมาใช้ในการศึกษาด้านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก เช่น  การเคลื่อนที่ของพายุ การเคลื่อนที่ของฝุ่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบนพื้นโลก เช่น ด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น  การปนเปื้อนของมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

    ระบบนำทางด้วยดาวเทียม สามารถกำหนดพิกัดของสถานที่
    ต่าง ๆ ในการทำแผนที่ สามารถใช้ติดตามบุคคล ยานพาหนะและสิ่งของเพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ หรือมีการเคลื่อนที่ออกนอกเส้นทาง และสามารถนำไปใช้ในการป้องกันและติดตามการโจรกรรมรถยนต์ได้