TPAT3 30 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์  ประกอบด้วย 2  ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1: การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 60 คะแนน  ประกอบด้วย

    1. ด้านตัวเลข (numerical reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
    2. ด้านมิติสัมพันธ์ (diagrammatic reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
    3. ด้านเชิงกล (mechanical reasoning) และด้านฟิสิกส์ (physics aptitude test) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
    จำนวน: 45 ข้อ
  • ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 40 คะแนน  ประกอบด้วย

    1. ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
    2. ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน)
    จำนวน: 25 ข้อ
  • ระยะเวลาที่ใช้สอบ 180 นาที

จำนวนข้อ

1. การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 60 คะแนน
45 ข้อ
2. การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ / 40 คะแนน
25 ข้อ
รวม70 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (aptitude test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ 

    1. การทดสอบความถนัดด้านตัวเลข (Numerical Reasoning Aptitude Test)

    1.1 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้

    16, 1, 8, 3, 4, 9, 2,  ?

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7  นำตัวเลขก่อนหน้ามาหารด้วย 2   ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคู่ คือ 2, 4, 6  นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 3  ตำแหน่งที่ 8 จึงเป็น 3 x 9 = 27

  • 1.2 จงหาจำนวนต่อไปของอนุกรมต่อไปนี้

    5, 3, 25, 15, 100, 75, 300, ?

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 1, 3, 5 และ 7  นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 5 , 4 และ 3 ตามลำดับ ส่วนชุดตัวเลขตำแหน่งเลขคี่ คือ 2, 4 และ 6  นำตัวเลขก่อนหน้ามาคูณด้วย 5 ลำดับที่ 8 จึงเท่ากับ 5 x 75 = 375

  • 1.3 จากตัวเลขในตารางข้างล่าง X แทนจำนวนใด 

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    พิจารณาเฉพาะสองสดมภ์ (column) ตรงกลาง ในแถว (row) ที่ 1, 3 และ 4 สดมภ์ที่ 2 มีค่ามากกว่าสดมภ์ที่ 3 อยู่ 1   

    ดังนั้นตัวเลขตรงสดมภ์ที่ 2 แถวที่ 2 จึงน่าจะเท่ากับ 6 และสดมภ์ที่ 3 แถวที่ 4 น่าจะมีค่าเท่ากับ 13 

    เมื่อพิจารณาการเรียงลงมาด้านล่าง คอลัมน์ที่สองมีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ +1, +3 และ +5  ตามลำดับ ดังนั้นค่า X จึงมีค่าเท่ากับ  8 + 5 = 13

  • 2. การทดสอบความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning Aptitude Test)

    2.1 หากต้องการวางลูกบาศก์ซ้อนกันเพื่อให้ได้ภาพที่มองจากด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง ดังภาพต่อไปนี้ จะต้องใช้ลูกบาศก์อย่างน้อยที่สุดกี่ลูก

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เมื่อพิจารณาจากภาพด้านบนพบว่า มีกล่องที่เป็นฐานอยู่ 7 กล่อง และจากภาพด้านหน้าทำให้ทราบว่าตรงตำแหน่งที่ 1, 2, 5 และ 6   อาจมีกล่องซ้อนเป็นสองชั้นแต่ไม่ทราบว่ามีซ้อนอยู่บนทั้งสี่กล่องหรือไม่  เมื่อดูภาพด้านข้างจึงทราบว่ามีกล่องซ้อนอีกเพียง 2 กล่อง คือตรงกล่องที่ 1 และ 5 เท่านั้น  จำนวนกล่องจึงมีทั้งหมดเท่ากับ 7 + 2 = 9  กล่อง

     

  • 2.2 พับกระดาษ A4 แล้วเจาะรูตามรูป เมื่อคลี่กระดาษออก จะมีรอยตรงกับข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ข้อนี้พิจารณาได้ง่ายจากจำนวนรูที่ปรากฏ  เพราะตรงที่เจาะรูมีความหนาของกระดาษ 4 ชั้น  เมื่อคลี่ออกมาจึงต้องเห็นรูบนกระดาษจำนวน 4 รู  หากตัวเลือกมีจำนวนรูสี่รูเท่ากัน จะต้องดูรูปแบบตำแหน่งของรู ซึ่งจะต้องพิจารณาละเอียดมากขึ้น

     

  • 2.3   ตรงกับข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จะเห็นได้ว่ามีการหมุนเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โดยที่วัตถุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ( และ ⬛  ) กับรูปขนมเปียกปูน ( และ ) มีการกลับของสีด้วยเมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่ง

  • 3. การทดสอบความถนัดด้านเชิงกล (Mechanical Reasoning Aptitude Test) และการทดสอบความถนัดด้านฟิสิกส์ (Physics Aptitude Test)

    3.1 ถ้าเฟือง C หมุนทวนเข็มนาฬิกา ข้อใดกล่าวถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    โปรดดูตามรูป คือ มีเฟือง B กับ E เท่านั้นที่หมุนตามเข็มนาฬิกา

     

  • 3.2 เงาที่ปรากฏในรูปด้านบน เป็นของวัตถุในข้อใด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    พิจารณาจากจุดสำคัญ 2 จุด คือ ภาพเงาด้านบน และตรงปลายฐานของวัตถุ (ตรงตำแหน่งลูกศรสีแดง)  ด้านบนเป็นเงาเฉียง ซึ่งมีเพียงข้อ 1, 2  และ 5 เท่านั้น  แต่เมื่อดูที่ปลายฐานจะเห็นว่าภาพเงาตัดตรง ไม่เป็นเงาเฉียง ซึ่งมีเพียงข้อ 2 เท่านั้น

  • 3.3 ข้อใดมีมวลรวมน้อยที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    สมมุติให้   มีมวลเท่ากับ  1 หน่วย  จากภาพกลางแสดงว่า   มีมวลเป็น 2 เท่าของ ดังนั้น   จึงมีมวลเท่า 2 หน่วย 

    เมื่อดูภาพแรกสามารถทราบได้ว่า   มีมวลเท่ากับ 3 หน่วย  และจากภาพขวามือทำให้ทราบว่า มีมวลเท่ากับ  2.5 หน่วย

    ดังนั้น ข้อ 2) จึงมีมวลน้อยที่สุด คือ 2 หน่วย

  • ส่วนที่ 2 : การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

    4. ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

    4.1 ความเข้มของแสงแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสองตามกฎกำลังสองผกผัน  ถ้าอุปกรณ์วัดระดับในถัง (ตามรูปด้านล่าง) ที่ใช้หลักการวัดความเข้มของแสง  กราฟในข้อใดเขียนถูกต้องที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จะเห็นว่าระดับน้ำสูงขึ้น ระยะห่างจากหลอดไฟฟ้าถึงอุปกรณ์วัดความเข้มของแสงจะลดลง แต่ความเข้มของแสงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามค่ายกกำลังสองของสัดส่วนของระยะห่าง (ไม่เป็นแบบเส้นตรง)  จนถึงค่าสูงสุดเมื่อน้ำเต็มถัง 

  • 4.2 ถ้าวงกลมตามรูปข้างล่างมีพื้นที่รวม 10 หน่วย  มีวงกลมเล็กแบ่งตามรัศมีห่างเท่ากันอีก 3 วงอยู่ข้างใน จงประมาณผลรวมของพื้นที่สีดำ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เนื่องจากพื้นที่ของชิ้นส่วนที่มีสีดำกับสีขาวซึ่งมีขนาดเท่ากัน มีจำนวนชิ้นส่วนเท่ากัน  แสดงว่าชิ้นส่วนสีดำกับสีขาวมีพื้นที่เท่ากัน คือ สีละ 5 หน่วย

  • 4.3 งานชิ้นหนึ่ง หากให้ผู้ใหญ่ 4 คนกับเด็ก 6 คนช่วยกันทำ จะใช้เวลา 8 วันจึงจะเสร็จ 
    งานชิ้นเดียวกันนี้หากให้ผู้ใหญ่ 3 คนกับเด็ก 7 คนช่วยกันทำ จะใช้เวลา 10 วันจึงจะเสร็จ
    ถ้าให้เด็ก 10 คนทำชิ้นงานเดียวกันนี้จะใช้เวลากี่วันจึงจะเสร็จ ?

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ให้ผู้ใหญ่ 1 คน ทำงานใน 1 วัน = x

    และเด็ก 1 คน ทำงานใน 1 วัน = y

     

  • 4.4 ถ้าท่านต้องออกแบบระบบปรับอากาศอัจฉริยะให้ shared working space แห่งหนึ่งที่เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมงทุกวัน ท่านคิดว่าจะใช้วิธีใดที่จะควบคุมการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศได้เหมาะสม (ประหยัดพลังงาน/ไม่ร้อน?) ที่สุด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เนื่องจากแก้ปัญหาว่ามีคนออกไปแต่ไม่ปิดแอร์ ในขณะที่ข้ออื่น ๆ ไม่สัมพันธ์กับจำนวนผู้ปฏิบัติงานจริง

  • 5. ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

    5.1 ข้อใดเป็นการใช้ประโยชน์จาก AI (artificial intelligence)

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เพราะต้องใช้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

  • 5.2 หากมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทวีปยุโรป ท่านคิดว่าอะไรคือผลกระทบที่สำคัญต่อคนในประเทศไทย

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    การปนเปื้อนเกิดขึ้นทำลาย ในขณะที่ข้ออื่น ๆ อาจไม่เป็นจริงกับคนในประเทศไทย

  • 5.3 ข้อความใดกล่าวถึงเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์โควิด-19 ถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    การกลายพันธุ์มีผลให้เชื้อที่อยู่ได้นานแพร่ขยายได้มากขึ้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทำลาย Host โดยตรง

  • 5.4 แสงซินโครตรอน (synchrotron) คืออะไร

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    เป็นไปตามนิยาม