A-Level 66 Bio วิชาชีววิทยา

วัดการประยุกต์ใช้ความรู้ซึ่งมีเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ได้แก่ สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  และสาระชีววิทยา

โครงสร้างข้อสอบ

  • ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

    1. ระบบนิเวศและไบโอม
    2. ประชากร
    3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    4. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน
    จำนวน: 5 - 7 ข้อ
  • หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

    1. เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
    2. โครงสร้างและการทำงานของเซลล์
    จำนวน: 6 - 8 ข้อ
  • ระบบและการทำงานต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์

    1. ระบบย่อยอาหาร
    2. ระบบหมุนเวียนเลือด
    3. ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
    4. ระบบขับถ่าย
    5. ระบบหายใจ
    6. ระบบประสาทและการเคลื่อนที่
    7. ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
    8. ระบบต่อมไร้ท่อ
    9. พฤติกรรมของสัตว์
    จำนวน: 12 - 14 ข้อ
  • โครงสร้างและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในพืช

    1. เนื้อเยื่อและโครงสร้างภายในของพืช
    2. การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำของพืช และการลำเลียงของพืช
    3. การสังเคราะห์ด้วยแสงและสารอินทรีย์ในพืช
    4. การสืบพันธุ์ของพืชดอก
    5. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
    จำนวน: 6 - 8 ข้อ
  • พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ

    1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    2. สมบัติของสารพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
    3. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
    4. เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
    5. วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์ประชากร
    จำนวน: 6 - 8 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ

    1. ปรนัย 5 ตัวเลือก (ข้อละ 2.4 คะแนน)
    2. เลือกตอบเชิงซ้อน (ข้อละ 3.2 คะแนน)
      • ตอบถูกทั้ง 3 ข้อย่อย ได้คะแนนเต็ม 3.2 คะแนน
      • ตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้คะแนน 1.6 คะแนน
      • หากตอบถูกเพียง 1 ข้อย่อยจะไม่ได้คะแนน

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

  • หมายเหตุ

    1. ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
    2. ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนข้อ

ปรนัย 5 ตัวเลือก / 84 คะแนน
35 ข้อ
เลือกตอบเชิงซ้อน / 16 คะแนน
5 ข้อ
รวม40 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • ตัวอย่างที่ 1 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของโรคชนิดหนึ่งในครอบครัวหนึ่ง เป็นดังนี้

     จากข้อมูล ข้อใดถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของโรคดังกล่าวเป็นแบบ Autosomal recessive inheritance โดยสังเกตจากการที่พ่อแม่ไม่เป็นโรคแต่มีลูกเป็นโรค แสดงว่าลูกที่เป็นโรคต้องได้รับแอลลีลด้อยจากพ่อและแม่ และการที่ลูกสาวเป็นโรคโดยที่พ่อไม่เป็นโรค แสดงว่ายีนนี้ถ่ายทอดผ่านทางออโตโซม ดังนั้น คนที่จะแสดงอาการของโรค ต้องมีจีโนไทป์เป็น homozygous recessive (aa)

    หากพ่อแม่ไม่เป็นโรค แต่ลูกเป็นโรค แสดงว่าพ่อและแม่ต้องเป็นพาหะของโรค หรือมีจีโนไทป์แบบ เฮเทอโรไซกัส (Aa) ดังนั้น ตัวเลือกที่ 4 การที่คนที่ 1 ในรุ่น IV เป็นโรค แสดงว่าคนที่ 5 และ 6 ในรุ่น III เป็นพาหะของโรค จึงเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง

  • ตัวอย่างที่ 2 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    จากการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลทำให้เกิดเกาะใหม่ขึ้นจากการแข็งตัวของลาวา นักวิทยาศาสตร์สำรวจสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ พบผู้ผลิต 4 กลุ่ม (A-D) ประกอบด้วยไลเคน หญ้า ไม้พุ่ม และไม้ต้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมวลชีวภาพต่อพื้นที่ตามเวลา จนสังคมสิ่งมีชีวิตเข้าสู่สังคมสมบูรณ์ที่เป็นป่าดิบชื้น ดังกราฟ

    จากข้อมูล กราฟใดเป็นไปได้มากที่สุดในการแสดงมวลชีวภาพของไม้ต้นและไลเคน ตามลำดับ

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากสถานการณ์เกาะแห่งนี้เกิดจากการแข็งตัวของลาวาแสดงว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตบนพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาก่อนสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยในการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ ในสภาพแวดล้อมตอนเริ่มต้นได้ เช่น ไลเคน (D) โดยสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกเหล่านี้จะค่อยๆ ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดดินและมีความชื้นที่เพิ่มขึ้น จนทำให้มีสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่สอง เช่น หญ้า (C) เกิดขึ้นมาเป็นสิ่งมีชีวิตเด่นแทนที่

    เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการสะสมของซากสิ่งมีชีวิตที่ตายไปและทับถมกันจนกลายเป็นชั้นดินที่หนา และอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จึงพบสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นเข้ามาแทนที่ เช่น ไม้พุ่ม (B) และไม้ต้น (A) ตามลำดับ และพัฒนาเป็นสังคมสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งไม้ต้นจะเป็นพืชเด่นที่มีมวลชีวภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้ผลิตอีก 
3 กลุ่ม เนื่องจากในสถานการณ์ระบุว่าสังคมสมบูรณ์ คือ ป่าดิบชื้น

    ดังนั้น ตัวเลือกที่ 2 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

  • ตัวอย่างที่ 3 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    จากการศึกษาการสูญเสียความสามารถในการเรืองแสงที่เกิดจากมิวเทชันของแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ ได้แก่ A B และ C นักวิจัยใช้เทคนิค PCR และเจลอิเล็กโทรฟอรีซิส เพื่อศึกษายีนเรืองแสงเทียบกับแบคทีเรียสายพันธุ์ที่สามารถเรืองแสงได้ผลดังภาพ ก และศึกษาขนาดของโปรตีนที่ได้จากยีนเรืองแสง ผลดังภาพ ข

    หมายเหตุ: ในภาพ ข กำหนดให้น้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนแปรผันตรงกับความยาวของสายพอลิเพปไทด์

    ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิวเทชันในแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากผลของการศึกษายีนเรืองแสงของแบคทีเรียสายพันธุ์ C สรุปได้ว่า ยีนของสายพันธุ์ C มีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียเรืองแสงปกติ และผลจากการศึกษาโปรตีนพบว่า โปรตีนของสายพันธุ์นี้มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่าแบคทีเรียเรืองแสงปกติ ซึ่งการที่ยีนมีขนาดเล็กลงเป็นผลมาจากการขาดหายของนิวคลีโอไทด์ 
ส่วนการที่โปรตีนมีขนาดสั้นลง อาจเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีนที่ทำให้เกิดรหัสหยุด (stop codon) ก่อนหน้าตำแหน่งในยีนปกติ จึงส่งผลให้โปรตีนที่สังเคราะห์ได้มีน้ำหนักโมเลกุลลดลง

    พิจารณาตัวเลือก 1 “สายพันธุ์ A อาจมีการแทนที่คู่เบส ทำให้โปรตีนมีน้ำหนักโมเลกุลเพิ่มขึ้น”
    ผิด เพราะจากผลการศึกษาโปรตีนที่ได้จากยีนเรืองแสงของแบคทีเรียสายพันธุ์ A มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยลง

    พิจารณาตัวเลือก 2 “สายพันธุ์ B อาจมีการแทนที่คู่เบส ทำให้โปรตีนมีน้ำหนักโมเลกุลลดลง”
    ผิด เพราะจากผลการศึกษาโปรตีนที่ได้จากยีนเรืองแสงของแบคทีเรียสายพันธุ์ B โปรตีนมีน้ำหนักโมเลกุลเท่าเดิม

    พิจารณาตัวเลือก 3 “สายพันธุ์ B อาจมีการเพิ่มขึ้นของนิวคลีโอไทด์ แต่ยังคงทำให้กรดแอมิโนมีลำดับเช่นเดิม”
    ผิด เพราะการเพิ่มขึ้นของนิวคลีโอไทด์ ทำให้ลำดับกรดแอมิโนมีการเปลี่ยนไป
    โดยอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง

    พิจารณาตัวเลือก 4 “สายพันธุ์ C อาจมีการแทนที่คู่เบสที่ทำให้ดีเอ็นเอมีประจุลบมากขึ้น”
    ผิด เพราะการแทนที่คู่เบสเป็นการเปลี่ยนเบสของนิวคลีโอไทด์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงฟอสเฟตบนดีเอ็นเอ ดังนั้นประจุของสายดีเอ็นเอจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ดังนั้น ตัวเลือก 5 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

  • ตัวอย่างที่ 4 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    การทดสอบหมู่เลือดของบุคคล 3 คน โดยใช้ชุดตรวจหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ได้ผลดังตาราง

    หมายเหตุ:
    – ชุดตรวจหมู่เลือด ประกอบด้วย
    น้ำยา Anti-A ทำปฏิกิริยากับ แอนติเจน A เกิดการตกตะกอนของเลือด
    น้ำยา Anti-B ทำปฏิกิริยากับ แอนติเจน B เกิดการตกตะกอนของเลือด
    น้ำยา Anti-D ทำปฏิกิริยากับ แอนติเจน D (Rh) เกิดการตกตะกอนของเลือด
    – สัญลักษณ์ + หมายถึง พบการตกตะกอนของเลือด
    – สัญลักษณ์ – หมายถึง ไม่พบการตกตะกอนของเลือด

    พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. คนที่ 1 มีแอนติเจน B ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง สามารถให้เลือดกับคนที่ 3 ได้
    ข. คนที่ 2 ไม่พบแอนติบอดี A และ B ในพลาสมา สามารถรับเลือดจากคนที่ 1 ได้
    ค. คนที่ 3 ไม่พบแอนติเจน Rh บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง และสามารถให้เลือดกับคนที่ 2 ได้

    ข้อความใดกล่าวถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากผลการทดสอบเลือดของบุคคลทั้ง 3 คน สามารถสรุปได้ดังตาราง

    เมื่อพิจารณาแต่ละข้อความ พบว่า
    ก.ผิด เพราะคนที่ 1 มีหมู่เลือด B/Rh+ มีแอนติเจน B และแอนติเจน Rh ที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
    จึงไม่สามารถให้เลือดกับคนที่ 3 ที่มีหมู่เลือด O/Rh- ได้ เนื่องจากผู้รับมีแอนติบอดี A และ B ในพลาสมา

    ข.ถูกต้อง เพราะคนที่ 2 มีหมู่เลือด AB/ Rh+ สามารถรับเลือดจากคนที่ 1 ที่มีหมู่เลือด B/ Rh+ ได้
    เนื่องจากพลาสมาของคนที่ 2 ไม่พบแอนติบอดี A และ B นอกจากนี้บุคคลทั้งสองยังมีหมู่เลือด Rh+
    เหมือนกันจึงไม่สร้างแอนติบอดี Rh ในพลาสมา

    ค.ถูกต้อง เพราะคนที่ 3 มีหมู่เลือด O/ Rh- จึงไม่มีแอนติเจน A, B และ Rh บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
    ดังนั้นจึงสามารถให้เลือดกับคนที่ 2 ที่มีหมู่เลือด AB/ Rh+ ได้

    ดังนั้น ตัวเลือก 4 จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

  • ตัวอย่างที่รูปแบบเลือกตอบเชิงซ้อน

    สายใยอาหารหนึ่ง เป็นดังแผนภาพ

    ข้อความต่อไปนี้ถูกต้องใช่หรือไม่

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    คำตอบที่ถูกต้องคือ 1. ไม่ใช่   2. ไม่ใช่   3. ใช่

    คำอธิบาย

    1. ไม่ใช่ เนื่องจากสายใยอาหารนี้มีจำนวนโซ่อาหารแบบผู้ล่าเท่ากับจำนวนโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ ดังนี้

    โซ่อาหารแบบผู้ล่า จำนวน 3 โซ่อาหาร ได้แก่

     โซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์ จำนวน 3 โซ่อาหาร ได้แก่

    2. ไม่ใช่ เนื่องจากพลังงานจากไส้เดือนดินที่ถ่ายทอดไปยังนกและไปยังแมวป่าจะไม่เพิ่มขึ้นตามลำดับขั้นการกิน เพราะพลังงานเริ่มต้นที่มีอยู่ในผู้ผลิตจะไม่สามารถถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคลำดับถัดไปได้ทั้งหมด และจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับขั้นการกินจนถึงผู้บริโภคลำดับสุดท้าย

    3. ใช่   เนื่องจากหากมีการใช้สารฆ่าแมลงในการปลูกข้าวโพด กิ้งก่าจะมีความเข้มข้นของสารฆ่าแมลงที่สะสมในเนื้อเยื่อมากกว่าตั๊กแตน เนื่องจากผู้บริโภคลำดับสูง ๆ จะมีการสะสมสารพิษมากกว่าผู้บริโภคลำดับต่ำกว่าจากการเกิดไบโอแมกนิฟิเคชัน